ภาพประกอบแท็บเล็ตแสดงระดับคุณภาพอากาศ พร้อมพื้นหลังแผนที่โลก เน้นมาตรฐานคุณภาพอากาศทั่วโลก

การมุ่งสู่มาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารทั่วโลก 

2024/10/30

คุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ) ไม่ใช่แค่คำเท่ๆ แต่เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพ ประสิทธิภาพ และความสะดวกสบายของทุกคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ภายในอาคาร ซึ่งหมายถึงพวกเราส่วนใหญ่ ทั่วโลกกำลังพัฒนามาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารอย่างต่อเนื่อง 

 

อีกหลายประเทศกำลังสร้างและแก้ไขนโยบายต่างๆ เพื่อจัดการมลพิษทางอากาศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

และเพื่อยกระดับคุณภาพอากาศในที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน แม้ว่ามาตรฐานเหล่านี้ในหลายแห่งทั่วโลกจะเป็นนโยบายมากกว่ากฎระเบียบข้อบังคับ แต่เป้าหมายยังคงเหมือนเดิม คือเพื่อช่วยให้เราสร้างสภาพแวดล้อมภายอาคารที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้เรามีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

มาตรฐาน IAQ ทั่วโลก

องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่เพียงเน้นเฉพาะประเด็นใหญ่เท่านั้น แต่ยังให้คำแนะนำที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องเล็กๆ ที่ควรใส่ใจเช่นเดียวกัน เช่น ฝุ่นละออง ก๊าซเรดอน สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และสิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ 

 

แนวทางเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่างๆ กำหนดนโยบายที่รักษาสภาพอากาศในอาคารให้มีคุณภาพที่ดีเท่าที่เป็นไปได้ เมื่อพูดถึงการกำหนดแบบแผนสำหรับอาคารที่มีสุขภาพดีขึ้น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการมาตรฐาน (ISO) ได้วางแนวทางมาตรฐานหลายอย่าง เช่น ISO-16814:2008 และ ISO 16000-40:2019/Amd 1:2024 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ช่วยให้การออกแบบอาคารคำนึงถึงความสำคัญของคุณภาพอากาศ ทำให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารปลอดภัยและมีความรู้สึกสะดวกสบายมากขึ้น

อินโฟกราฟิกเกี่ยวกับมลพิษภายในอาคารตามแนวทางคุณภาพอากาศภายในอาคารของ WHO  คาร์บอนมอนอกไซด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซเรดอน ซึ่งเน้นถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพ

มาตรฐานต่างๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ

ในสหรัฐอเมริกา ทั้งองค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อม  Environmental Protection Agency (EPA) และ American Society of Heating, Refrigerating, and Air-Conditioning Engineers (ASHRAE) เป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในอาคาร โดยแนวทางของ EPA คอยตรวจสอบระดับมลพิษอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าอากาศที่เราหายใจภายในบ้าน โรงเรียน และสำนักงาน ยังคงสะอาดและมีคุณภาพดี 

 

มาตรฐาน 62.1 ของ ASHRAE ก้าวไปไกลกว่านั้น โดยมุ่งเน้นการระบายอากาศ การกระจายอากาศ และการทำความสะอาดอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่าอากาศภายในอาคารสดชื่นและมีคุณภาพดี

 

เช่นเดียวกับในแคนาดา การรักษาอากาศภายในอาคารให้ปลอดภัยนับเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ซึ่งเน้นย้ำตาม Residential Indoor Air Quality Guidelines(RIAQG) โดยกระทรวงสาธารณสุขแคนาดา แนวทางเหล่านี้ให้คำแนะนำที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรักษาคุณภาพอากาศที่ดีที่สุด ในขณะที่วิธีการทำความเข้าใจมลพิษแบบเฉพาะเจาะจงของแคนาดา ช่วยให้เจ้าของบ้านแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ เน้นมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยมุ่งเน้นตามนโยบายของ EPA, ASHRAE และ Health Canada

มาตรฐานต่างๆ ในสหภาพยุโรป

ในสหภาพยุโรป BS EN 13142:2021 ได้ให้ความสำคัญในการสร้างอาคารที่มีระบบระบายอากาศที่ดีเยี่ยม มาตรฐานนี้กำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับระบบระบายอากาศภายในอาคาร เพื่อให้มั่นใจว่าระบบเหล่านี้ได้รับการออกแบบไม่เพียงเพื่อความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังเพื่อสุขภาพของทุกคนภายในอาคารด้วย

 

European Environment Agency (EEA) ได้ทำตามคำแนะนำจากคู่มือระดับโลกที่สอดคล้องกับแนวทางขององค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด การยึดถือแนวทางนี้เสริมสร้างนโยบายที่สอดคล้องกันในการจัดการปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารทั่วทั้งยุโรป เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรฐานเหล่านี้ได้รับการยอมรับในระดับสากลและมีประสิทธิภาพในระดับท้องถิ่น

มาตราฐานต่างๆ ในทวีปเอเชีย

หลายประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ได้กำหนดแนวทาง IAQ ที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด ในเกาหลีใต้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลมาตรฐานเหล่านี้ ในขณะที่ในญี่ปุ่น คณะกรรมการ Sick House Syndrom มุ่งเน้นการวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร และ JEM 1467 เป็นผู้กำหนดเกณฑ์สำหรับเครื่องฟอกอากาศ

 

รัฐบาลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้กำหนดมาตรฐาน IAQ ตามแนวทางของ WHO ตัวอย่างเช่น กรม Occupational Safety and Health ของมาเลเซียริเริ่ม Indoor Air Quality Code of Practice ในขณะที่อินเดียใช้มาตรฐานของ Indian Society of Heating, Refrigerating, and Air Conditioning Engineers สำหรับการวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร

แผนที่ทวีปเอเชีย เน้นมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารของอินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับจุดสำคัญของมลพิษภายในอาคาร

มาตรฐานต่างๆ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมืองดูไบได้กำหนดมาตรฐาน IAQ โดยมุ่งเน้นปัจจัยหลักสามประการ ได้แก่ Total Volatile Organic Compounds (TVOC) และอนุภาคแขวนลอยหรือที่เรียกว่าฝุ่นละออง

 

ตามระเบียบเหล่านี้ ระดับฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ควรเกิน 0.08 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ระดับ TVOC ควรต่ำกว่า 300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m³) และอนุภาคแขวนลอยควรต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m³)

มาตรฐานต่างๆ ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

ในแอฟริกาใต้ มาตรฐาน IAQ ตามแนวทางของ WHO ครอบคลุมปัจจัยต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)

 

ระดับฝุ่นละอองถูกควบคุมที่ 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m³) มากกว่า 24 ชั่วโมง และ 20 mg/m³ ต่อปี ขีดจำกัดของ CO แตกต่างกันไปตามระยะเวลาการสัมผัส โดยอยู่ระหว่าง 100 mg/m³ สำหรับ 15 นาที ถึง 7 mg/m³ สำหรับ 24 ชั่วโมง และการสัมผัส NO2 ไม่ควรเกิน 200 mg/m³ สำหรับ 1 ชั่วโมง และ 40 mg/m³ ต่อปี

การศึกษาคุณภาพอากาศภายในอาคารอย่างละเอียด

หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน IAQ ทั่วโลก มีแหล่งความรู้มากมายที่จะช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาอย่างลึกซึ้ง International Society of Indoor Air Quality and Climate's Scientific Technical Committee 34 (STC34) เป็นคลังความรู้ที่ล้ำค่า คณะกรรมการกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่ศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้กำหนดแนวทางสำหรับการวิจัยและนวัตกรรมด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร ฐานข้อมูลของ ISIAQ ที่ IEQ Guidelines นำเสนอรายละเอียดมุมมองเกี่ยวกับมาตรฐาน IAQ ที่นำไปใช้ใน 34 ประเทศ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติและนโยบายระดับโลก

เมื่อเราสำรวจมาตรฐานต่างๆ ของหลายประเทศ เห็นได้ชัดว่าการประสานมาตรฐาน IAQ ทั่วโลก ไม่ใช่แค่ความสม่ำเสมอ แต่เป็นการสร้างกรอบการทำงานระดับสากล เพื่อทำให้แน่ใจว่าอากาศที่เราหายใจภายในอาคาร ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงานมีปลอดภัยและสะอาดอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยการเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างมาตรฐานระหว่างประเทศที่แตกต่างกัน และมุ่งเน้นการวัดคุณภาพอากาศที่ครอบคลุม เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพดีขึ้นทั่วโลก สร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย และยั่งยืนมากขึ้นสำหรับเด็กรุ่นใหม่ในอนาคต

 

ติดตามตอนต่อไปในซีรีส์ IAQ ซึ่งเราจะพูดถึงขั้นตอนที่เป็นประโยชน์ที่คุณสามารถทำได้เพื่อรักษาอากาศที่สะอาดขึ้นภายในบ้านของคุณ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LG HVAC

* ผลิตภัณฑ์และโซลูชันอาจแตกต่างกันไปตามประเทศและสภาวะการดำเนินงาน

ติดต่อเรา

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเรา เราจะติดต่อกลับเร็วๆ นี้